หลักธรรมาภิบาล

หลักธรรมาภิบาล (Good Governance) มาจากคำว่า ธรรมะ + อภิบาล

หมายความว่าหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองและสังคมที่ดี

ประกอบด้วยหลักพื้นฐาน 6 ประการ ดังนี้

1. หลักนิติธรรม

ได้แก่การตรากฎหมาย กฏข้อบังคับต่างๆให้ทันสมัยและเป็นธรรมเป็นที่ยอมรับทั้งผู้ออกกฏและผู้ปฏิบัติตาม

ตลอดจนทุกคนในสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย

2. หลักคุณธรรม

ได้แก่การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม ซื่อสัตย์ จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบ ตลอดจนมีความชอบธรรมในการใช้อำนาจ

3. หลักความโปร่งใส

มีการเปิดเผยข้อมูลที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวก

เปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง รวดเร็ว ไม่บิดเบือนหรือปิดบังบางส่วน

4. หลักความมีส่วนร่วม

ได้แก่การเปิดโอกาสให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เราทำทั้งร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข และร่วมรับผิดชอบ

5. หลักความรับผิดชอบตรวจสอบได้

นอกจากจะต้องมีความรับผิดชอบแล้วยังต้องสร้างกระบวนการให้หน่วยงานต่างๆมาตรวจสอบได้ว่าการทำงานของเราโปร่งใสจริง

6. หลักความคุ้มค่า

ได้แก่การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มเงิน คุ้ม เวลา คุ้มแรงงาน

พุทธสุภาษิต

"อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ"
"ตนแล เป็นที่พึ่งของตน"
อธิบายว่า บุคคลควรฝึกฝนตนเอง ทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจให้มีความรู้ ความสามารถ ในด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต
และหน้าที่การงาน เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วจะสามารถพึ่งตนเองได้และเป็นที่พึ่งของผู้อื่นได้ด้วย

"กมฺมุนา วตฺตตี โลโก"
"สัตว์โลก ย่อมเป็นไปตามกรรม"
อธิบายว่า มนุษย์เรานี้มีการกระทำเกิดขึ้น อยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าทำดี ทำชั่ว หรือ พอปานกลาง ด้วยกาย วาจา ใจ
ทำกรรมด้วยกาย ท่านว่า "กายกรรม" ทำกรรมด้วยวาจา ท่านว่า "วจีกรรม" ทำกรรมด้วยใจ ท่านว่า "มโนกรรม"
กรรมที่สัตว์โลกทั้งหลายทำไว้แล้วย่อมส่งผลต่อชีวิตประจำวัน อาจจะส่งผลช้าหรือเร็ว ย่อมไม่มีสัตว์โลกใดๆหลีกเลี่ยง
ผลของกรรมหรือการกระทำของตนเองไปได้ ไม่ว่ากรรมดี หรือกรรมชั่ว ย่อมจะได้รับผลนั้นอย่างแน่นอน
ผู้ทำกรรมดี ย่อมไปสวรรค์ ผู้ทำกรรมชั่วย่อมไปนรก ท่านผู้ละกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้งปวง ย่อมไปนิพพาน

"สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฺฒิสาธิกา"
"ความสามัคคีของกลุ่มคนย่อมนำความเจริญมาให้"
สุภาษิตข้อนี้ ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า "รวมกันเราอยู่ แยกหมู่เราตาย"
นั้นหมายถึงว่า ความสามัคคี ทำให้กลุ่มคนมีความเข้มแข็ง

"นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา"
"ความกตัญญูเป็นนิมิตหมายของคนดี"
อธิบายว่า เรามีความกตัญญูคือรู้คุึณของผู้อื่นที่ท่านได้กระทำแล้วแก่เรา เป็นนิิมิตรหมายว่าเี่ราเป็นคนดี
เช่น เราสำนึกบุญคุณพ่อแม่ สำนึกบุญคุณครูอาจารย์ สำนึกบุญคุณ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
หากเราสำนึกอยู่เนื่องๆ เราย่อมเป็นคนดี และทำแต่ความดี มีประโยชน์ต่อสังคมอย่างแน่นอน

ศิลห้าข้อ คือข้อปฏิบัติของฆราวาส (ผู้อยู่ครองเรือน)

1.ปาณาติปาตา เวรมณี งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
2.อทินนาทานา เวรมณี งดเว้นถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ด้วยตนเอง
3.กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
4.มุสาวาทา เวรมณี งดเว้นจากการพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ
5.สุราเมรยมัฌชปมาทัฏฐานา วรมณี งดเว้นจากการดื่มน้ำเมาและของมึนเมาทุกชนิด

ธรรมห้าข้อ คือข้อปฏิบัติหลังจากได้ทำการงดเว้นสิ่งที่ไม่ดี(ศีลห้า)ทั้งห้าข้อนั้นแล้ว

1.พรมวิหารสี่ ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา เมตตาผู้ที่ตกทุกข์ กรุณาให้โอกาสแก่ผู้ด้อยกว่า มุทิตาเคารพต่อผู้ใหญ่ อุเบกขามีความเป็นกลาง (ไม่ลำเอียง)
2.ทาน ให้ทานแก่สมณะ และบุคลลทั่วไปตามอัตภาพ
3.พรมจารีย์ ประพฤติพรมจรรย์ (ถือศีลแปด)
4.สัจจะ สัจจะ พูดแต่ความจริง พูดให้กำลังใจผู้อื่น พูดคำสุภาพ และพูดแต่ในสิ่งที่ควรพูด
5.สติ ฝึกสติ คือฝึกเป็นคนรอบคอบในทุุกๆด้าน



มงคล 38 ประการ ในทางพระพุทธศาสนา

มงคลที่ ความหมาย
1.อเสวนา จ พาลานํ 1.การไม่คบคนพาล
2.ปณฺฑิตานญฺจ เสวนา 2.การคบบัณฑิต
3.ปูชา จ ปูชนียานํ 3.การบูชาบุคลที่ควรบูชา
4.ปฎิรูปเทสวาโส จ 4.การได้อยู่ในพื้นที่ที่เหมาะสม
5.ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา 5.การที่เีคยได้ทำบุญมาก่อน
6.อตฺตสมฺมาปณิธิ จ 6.การที่ดำรงตนไว้โดยชอบธรรม
7.พาหุสจฺจญฺจ 7.การที่ได้เป็นคนฟังมามาก
8.สิปฺปญฺจ 8.การเป็นผู้มีศิลปะ
9.วินโย จ สุสิกฺขิโต 9. การเป็นผู้มีวินัยและได้ศึกษาวินัยมาอย่างดี
10.สุภาสิตา จ ยา วาจา 10.การที่มีวาจาเป็นสุภาษิต
11.มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ 11.การเลี้ยงดูบิดามารดา
12.ปุตฺตสงฺคโห 12.การเลี้่ยงดูบุตร
13.ทารสฺส สงฺคโห 13.การเลี้ยงดูภรรยา
14.อนากุลา จ กมฺมนฺตา 14.การทำงานไม่ให้คั่งค้าง
15.ทานญฺจ 15.การให้ทาน
16.ธมฺมจริยา จ 16.การประพฤติธรรม
17.ญาตกานญฺจ สงฺคโห 17.การสงเคราะห์ญาติ
18.อนวชฺชานิ กมฺมานิ 18.การทำงานที่ไม่ก่อให้เกิดโทษทั้งตนเองและผู้อื่น
19.อารตี วิรตี ปาปา 19.งดเว้นจากการทำบาปต่างๆ
20.มชฺชปานา จ สญฺญโม 20.สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
21.อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ 21.การไม่ประมาทในธรรมทั้งปวง
22.คารโว จ 22.มีความเคารพนบน้อม
23.นิวาโต จ 23.มีความถ่อมตน
24.สนฺตุฏฐี จ 24.มีความสันโดษ
25.กตญฺญุตา 25.มีความกตัญญู
26.กาเลน ธมฺมสฺสวนํ 26.ฟังธรรมตามกาล
27.ขนฺตี จ 27.มีความอดทน
28.โสวจสฺสตา 28.การเป็นคนว่าง่าย
29.สมณานญฺจ ทสฺสนํ 29.การได้เห็นสมณะ
30.กาเลน ธมฺมสากจฺฉา 30.การสนทนาธรรมตามกาล
31.ตโป จ 31.การบำเพ็ญตบะ
32.พฺรหฺมจริยญฺจ 32.การประพฤติพรมจรรย์
33.อริยสจฺจาน ทสฺสนํ 33.การได้เห็นอริยสัจจ์
34.นิพฺพานสจฺฉิกริยา จ 34.การทำนิพพานให้แจ้ง
35.ผุฏฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปติ 35.จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
36.อโสกํ 36.จิตไม่เศร้าโสก
37.วิรชํ 37.จิตปราศจากมลทิน
38.เขมํ 38.จิตเกษม

 

 

อปริหานิยธรรม 7 อย่าง

(หลักธรรมที่เป็นตัวอย่างในการบริหาร)
ธรรม ไม่เป็นที่ตั้งแห่งความเสื่อม เป็นไปเพื่อความเจริญฝ่ายเดียว
ชื่อว่า อปริหานิยธรรม มี 7 อย่าง คือ

1. หมั่นประชุมกันเนืองนิตย์
2. เมื่อประชุมก็พร้อมเพรียงกันประชุม เมื่อเลิกประชุมก็พร้อมเพรียงกันเลิก
และพร้อมเพรียงช่วยกันทำกิจที่สงฆ์จะต้องทำ

3.ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่บัญญัติขึ้น
ไม่ถอนสิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้แล้ว
สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบทตามที่พระองค์ทรงบัญญัติไว้

4. ภิกษุผู้ใหญ่เป็นประธานในสงฆ์ เป็นที่ซึ่งเคารพนับถือ
ภิกษุเหล่านั้นเชื่อฟังถ้อยคำของท่าน

5.ไม่ลุอำนาจแก่ความอยากที่เกิดขึ้น

6. ยินดีในเสนาสนะป่า

7. ตั้งใจอยู่ว่า เพื่อนภิกษุสามเณรซึ่งเป็นผู้มีศีล ซึ่งยัง
ไม่มาสู่อาวาส ขอให้มา ที่มาแล้ว ขอให้อยู่เป็นสุข

ธรรม 7 อย่างนี้ ตั้งอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นไม่มีความเสื่อมเลย
มีแต่ความเจริญฝ่ายเดียว

กลับหน้าหลัก